วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ความถี่แพ็คเก็ตเรดิโอในประเทศไทย จาก ปี พ.ศ.๒๕๓๙ -๒๕๔๔

ความถี่แพ็คเก็ตเรดิโอในประเทศไทย จาก ปี พ.ศ.๒๕๓๙ -๒๕๔๔
----------------------------------------------------------------
               นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๓๙ ได้มีการขออนุญาตทดลองระบบแพ็คเก็ตเรดิโอโดย สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทยในพระพรมราชูปถัมภ์ ได้รับอนุญาตให้ใช้ความถี่ดังต่อไปนี้คือ
              
               ความยาวคลื่น                          ย่านความถี่                             ความถี่/MHz.         

               2                                            VHF                        145.825 
               40                                          HF                          7.035-7.040
               20                                          HF                          14.070-14.112
               15                                          HF                          21.080 - 21.120
               10                                          HF                          28.070 - 28.150

ความถี่แพ็คเก็ตเรดิโอในประเทศไทย ปี พ.ศ.๒๕๔๔ - ถึงปัจจุบัน

หมายเหตุ.....

ขณะนี้ วันที่ ๒๗ กีกฏาคม ๒๕๕๗ กสทช ได้ประการผังความถี่แพ็คเก็คเรดิโอใหม่ อยู่ในระหว่างความถี่ 144.39000-144.50000 MHZ รอการกำหนดที่แน่ชัดต่อไป
-------------------------------------------------------------------------

ผลงานของ PGOT

ผลงานของ PGOT       

 
นับตั้งแต่ก่อตั้งเป็นต้นมา  PGOT มีผลงานเสนอต่อสาธารณะชนดังต่อไปนี้คือ 
1.
จัดทำเอกสารเพื่อการศึกษาและค้นคว้าแก่สมาชิกและผู้สนใจทั่วไปคือ 
    1.   
คู่มือแพ็คเก็ตเรดิโอ โดย Larry Kenney<WB9LOZ แห่งชมรมวิทยุสมัครเล่น 
           
ซานฟานซิสโก มอบหมายให้ สมลักษณ์ วันโย HS4DOR ถอดความสู่ภาษาไทย 
           
จากหนังสือ Introduction to packet radio 
     2.   
คู่มือการใช้สถานี PBBS โดย Larry Kenney และคณะเป็นหนังสือคู่มือการใช้            สถานี PBBS  ของชมรมวิทยุสมัครเล่นซานฟานซิสโก ซึ่งใช้โปรแกรม F6FBB เป็นหลัก 
 
แปลสู่ภาษาไทยโดย สมลักษณ์ วันโย HS4DOR 
    3.   
คู่มือการใช้ Baycom แปลจากเอกสารโปรแกรม    Baycom  โดยได้รับอนุญาตจาก 
           
ดร.Johanness ประธานแลุ่ม Baycom แห่งบาวาเรีย เยอรมันี 
    4.   
ประวัติแพ็คเก็ตเรดิโอ รวบรวมโดย สมลักษณ์ วันโย HS4DOR 
2.   
จัดทำเว็บไซด์อินเตอร์เน็ทเพื่อบริการแก่สมาชิกและสาธารณะชนทั่วไป เป็นแหล่งรวมความรู้ 
       
ต่าง ๆ เกี่ยวกับแพ็คเก็ตเรดิโอ ชื่อ http://www.pgot.cjb.net ดูแลรับผิดชอบโดย คุณ สุรเชษฐ์ 
       
เกษมุติ HS0OOP และเว็บไซด์ของประธานชมรมแพ็คเก็ตเรดิโอแห่งประเทศไทย ชื่อ 
        http:/www.jocking.com
 
3.   
จัดตั้งเครือข่ายแพ็คเก็ตเรดิโอเพื่อบริการแก่มาชิกและสาธารณะชนทั่วไป ชื่อว่า Packet Radio Network Of Thailand:PRNT ดูแลและควบคุมโดย กฤษณะ ชื่นพันธ์ E21NMS และทีมงาน 
4.   
ทำหนังสือขอความช่วยเหลือจากกลุ่ม BAYCOM แห่งเยอรมันนี่ ได้รับอนุญาตให้จัดทำโมเด็ม 
       
เพื่อจำหน่ายให้แก่สมาชิกและนักวิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย พร้อมอนุญาตให้จัดแปล 
       
เอกสารคู่มือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นภาษาไทย จาก ดร.Johannes,DG3RBU ประธานกลุ่ม 
        BAYCOM
เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2542

กำเนิด http://www.pgot.cjb.net

กำเนิด http://www.pgot.cjb.net 

ชมรมแพ็คเก็ตเรดิโอแห่งประเทศไทย โดยคุณ สุรเชษฐ์ เกษมุติ HS0OOP ได้จัดทำเว็บไซด์ 
ขึ้น  เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลและศูนย์กากรแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารแพ็คเก็ตเรดิโอระหว่างมวลหมู่ 
สมาชิกและผู้สนใจทั่วไป  ในเว็บไซด์นี้ทุกท่านสามารถเข้าไปศึกษาและพร้อมกันนั้นก็เป็นทาง 
เปิดไปสู่ลิงค์ของนักวิทยุสมัครเล่นต่าง ๆ ทั้งในประเทศไทย และประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก 

กำเนิด PRNT:Packet Radio Network Of Thailand

กำเนิด PRNT:Packet Radio Network Of Thailand 


   
         ต้นเดือนมิถุนายน 2542 คุณกฤษณะ ชื่นพันธ์  E21NMS ได้เสนอตั้งระบบเครืรอช่ายแพ็คเก็ตเรดิโอ ขึ้นเป็นครั้งแรก ให้ชื่อว่า " Packet Radio Network Of Thailand:PRNT มีหน้าที่ความรับผิดชอบในเรือง ระบบเครือข่ายทั้งหมด  รวมทั้งการให้การศึกษาและพัฒนา  ขยายเครือข่ายออกไปให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ทั่วประเทศ จัดใหเ้มีคณะกรรมการดูแลระบบเครือข่ายให้สามารถรับใช้บริการแก่สังคมได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 

กำเนิดชมรมแพ็คเก็ตเรดิโอแห่งประเทศไทย

กำเนิดชมรมแพ็คเก็ตเรดิโอแห่งประเทศไทย  

            ต้นปีพุทธศักราช 2540 หลังจากที่ได้ปรึกษาหารือก้นกับเพื่อน ๆ นักวิทยุสมัครเล่นหลาย ๆ ท่าน ก็เห็นพ้องต้องกันว่า  เราควรจะมีองค์กรใดองค์กรหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการให้การศึกษา และพัฒนาแพ็คเก็ตเรดิโอในประเทศไทย  ดังนั้นกระผม HS4DOR และ HS0XNO คุณอิศเรศ จินดานนท์ จีงได้ติดสินใจจัดตั้ง " ชมรมแพ็คเก็ตเรดิโอแห่งประเทศไทย " ขึ้น มีชื่อย่อภาษาไทยว่า "ชพท" ชื่อ ภาษาอังกฤษคือ " Packet Radio Group of Thailand " คำย่อว่า " PGOT" เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2540 โดย มีวัตถุประสงค์เพือเป็นศูนย์กลางประสานงานเพื่อพัฒนาแพ็คเก็ตเรดิโอในประเทศไทยนับตั้งแต่ บัดนั้นเป็นต้นมา  โดยที่   HS0NNU เป็นช่างเทคนิคผุ้จัดทำโมเด็มบริการสมาชิก แพ็คเก็ตเรดิโอก็ได้รับการพัฒนามาโดยลำดับ 

คอมพิวเตอร์ราคาแพง

คอมพิวเตอร์ราคาแพง 

           
ปัญหาและอุปสัคของพวกเรายังไม่สิ้น  เพราะคอมพิวเตอร์ซึ่งเป้นอุปกรณ์สำคัญอันหนึ่ง 
ในการประกอบเป็นสถานีแพ็คเก็ตเรดิโอ มีราคาแพงมากในขณะนั้น  กระผมเองไปซื้อมารุ่น 
Pentuim 75 
ราคาสี่หมือนกว่าทีเดียว หลังจากนั้นไม่นาน  ก็ได้รับแจ้งจาก HS1CHB ว่าทาง 
สถาบัน AIT จะทำการขยะคอมพิวเตอร์ คือที่เก่าใช้ไม่ได้แล้ว ให้พวกเรารวบรวมเงินกันไป 
ประมูลซื้อกันมา เสร็จแล้วก็ได้อาศัยเพื่อน ๆ นักวิทยุสมัครเล่นที่มีความรู้ทำการตรวจสอบ 
ซ่องแซมพอใช้งานได้  จนสามารถใช้งานได้จำนวนหนึ่ง  จึงเกิดสถานีแพ็คเก็ตเรดิโอเพิ่มขึ้น 
จากขยะคอมพิวเตอร์กองนั้นหลายสถานีทีเดียว 

โมเด็มและ TNC

โมเด็มและ TNC 

ต้นปีพุทธศักราช 2539 ทางสมาคมฯได้ยื่นขอต่อใบอนุญาตเพื่อการทดลองต่อไปอีกหนึ่งปี 
ซึ่งก็สร้างความปีติยินดีให้แก่นักวิทยุสมัครเล่นที่ต้องการทดลองแพ็คเก็ตเรดิโอเป็นอย่างมาก 
พร้อมกับได้พยายามทำโมเด็มต่อมาจนกว่าเป็นผลสำเร็จ แต่ก็มีจำนวนน้อยไม่เพียงพอแแก่ความ 
ต้องการ  จึงได้ขอร้องให้ HS1CHB สั่ง TNC เข้ามาจากสหรัฐ  ซึ่งกระผมเองก็ได้รับ TNC รุ่นแรก คือ KPC-3 การทดลองจึงได้ขยายตัวออกไปเรื่อย ๆ 



กำเนิดแพ็คเก็ตเรดิโอในประเทศไทย

กำเนิดแพ็คเก็ตเรดิโอในประเทศไทย 

ปลายปีพุทธศักราข 2538 ได้มีการพูดคุยกันในเรืองการทดลองแพ็คเก็ตเรดิโอ  หลังจาก 
ที่สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ได้ขออนุญาตทดลองมาหลายครั้ง 
หลายคราวเป็นระยะสั้น ๆ   ต่อมาได้มีนักวิทยุสมัครเล่นกลุ่มหนึ่งนำโดย ร.อ.นริศรา เชาวนาศรัย 
HS1CHB
กรรมการของสมาคมฯได้เรียกร้องให้มีการขออนุญาตทดลองแพ็คเก็ตเรดิโอขึ้นในประเทศ ไทย  โดยขอให้สมาคมฯเป็นผู้ขออนุญาตทดลองชั่วคราวเป็นเวลา 3 เดือน  หลังจากนันก็ได้มีการ จัดทำโมเด็มที่เรียกว่า " ทลิทกโมเด็ม" มาจากภาษาอังกฤษว่า PMP: poorman packet แต่การจัดทำ โมเด็มนี้ไม่ได้รับสำเร็จ เพราะขาดประสพการณ์ จนกระทั่งเวลาผ่านล่วงเลยไป ระยะเวลาที่ขอ 
อนุญาตสิ้นสุดลง 


วันวิทยุสมัครเล่นโลก: เฉลิมฉลองความสำเร็จแห่งดิจิตอลโหมด

วันวิทยุสมัครเล่นโลก: เฉลิมฉลองความสำเร็จแห่งดิจิตอลโหมด 

 2 กันยายน 2542 ได้มีประกาศข่าวจากสหภาพวิทยุสมัครเล่นสากล:IARU ใจความว่า " ได้มี 
การเฉลิมฉลองวันวิทยุสมัครเล่นโลกโดย IARU  ทุก ๆ ปี สำหรับปีนี้ได้จัดขึ้นในวันที่ 1 กันยายน 
2542
เป็นการเฉลิมฉลองความสำเร็จแห่งการสือสารดิจิตอลของวิทยุสมัครเล่น  จุดเด่นที่เรียก 
ว่า highlight เน้นไปที่ความก้าวหน้าในด้านการสือสารระบบดิจิตอลของนักวิทยุสมัครเล่นในโลก 
กว่า 2.7 ล้านคน  ที่เกี่ยวข้องอยู่กับการสือสารระบบดิจิตอล 
           
นักวิทยุสมัคเล่นทั้งหลาย ได้ทำการทดลองใช้แพ็คเก็ตเรดิโอมากว่า 20 ปีแล้ว วิถีทางการ 
ส่งข้อมูลทางดิจิตอลมีคยวามแตกต่างกันมากมายหลายหลากทางวิทยุ ได้มีความพยายามมาก่อน 
ที่จะมีการสร้างโปรโตคอลชื่อ AX.25 ขึ้นมาในกลางปีพุทธศักราช 2523 นับเป็นระยะเวลาอัน 
ยาวนาน  ก่อนที่จะได้รับความนิยมแพร่หลายจนนำมาใช้ในเชิงพานิช และงานในองค์กรของรัฐ 
แพ็คเก็ตเรดิโอได้กลายเป็นเครืองมือสือสารหลักของวิทยุสมัครเล่น 
           
การสือสารทาง HF ขึ้นอยู่กับชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟ่ยร์ซึ่งมี่สภาวะความแน่นอน 
บางครั้งก็มีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก  การส่งสัญญาณแพ็คเก็ตเรดิโอที่เรียกกันว่า Error-Free 
ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมแบบ HF ที่เต็มไปด้วยสัญญาณรบกวน และความกระเพื่อมของสัญญาณ 
ซึ่งมักจะมีอยู่เสมอ เป็นสิ่งท้าทายสำคัญยิ่ง  โหมดดิจิตอลที่พัฒนาโดยนักวิทยุสมัครเล่นต่างๆ ก็มี 
เช่น PACTOR,CLOVERS,GTOR,PACCTORII, และ PSK31 เป็นต้น  เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็น ศิลปะแห่งการสือสารย่านความถี่ HF ที่สำคัญใหญ่ยิ่ง 
           
ธรรมดาของนักวิทยุสมัครเล่นทั้งหลายต่างก็ได้เรียนรู้ผ่านงานในอาชีพของตนในฐานะ 
ที่ได้รับใช้เกี่ยวกับเรืองสือสารโทรคมนาคมอืน  ๆ มาก่อน  เช่น การให้การบริการทางวิทยุ 
กระจายเสียงสถานีวิทยุเคลื่อนที่  และการสือสารผ่านดาวเทียม  เป็นต้น ที่นำมากล่าวแจ้ง 
แถลงไขนี้เป็นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น  ที่จริงแล้วมีมากว่านี้  ความก้าวหน้าจะมีมากน้อยเพียงใด 
นั้นก็ขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญของนักวิทยุสมัครเล่นทั้งหลายที่มาจากนักวิทยุอาชีพนั่นเอง 
            IARU
เองเป็นสหภาพของวิทยุสมัครเล่นชาติต่าง ๆ ทั่วโลก หรือเป็นองค์กรตัวแทนของ 
นักวิทยุสมัครเล่น 150 ประเทศ และเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ 
(ITU)
 
           
วันวิทยุสมัครเล่นโลกสำหรับปีหน้า  จะจัดในว้นที่ 18 เมษายน 2543 ซึ่งตรงกับวัน 
เกิดครบรอบ 75 ปีของการก่อตั้ง IARU ณ กรุงปารีส  เมือปึพุทธศักราช 2468 " 
           
เป็นข้อความนำมาจากข่าวของ IARU  ซึ่งแสดงถึงความสำคัญของแพ็คเก็ตเรดิโอ 
ที่เป็นหนึ่งในดิจิตอลโหมดที่ควรจะได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้าต่อไปชั่วกาลนาน 

ชุดคิตประกอบเองของ TNC รุ่นแรก

ชุดคิตประกอบเองของ TNC รุ่นแรก 

19 สิงหาคม 2528 เวลา 9 โมงเช้า เป็นวันที่ประวัติศาสตร์ต้องจารึกไว้  เมื่อ 
Tucson Amateur Packet Radio ( TAPR )
ได้เปิดรับจอง TNC ตัวใหม่ทางโทรศัพท์ คือ TAPR TNC 2 มีการเตรียม TNC 2 เป็นชุดคิตสำหรับประกอบเองไว้ให้จอง 
เพียง 280 ชุดเท่านั้น  ดังนั้น คำสั่งจองเข้ามาต้องแย่งกันเหมือนกับการแย่งซื้อ 
ล๊อตตารี่ 
           
หลังจากที่ได้มีความพยายามด้วยความล้มเหลวหลายครั้งหลายคราว 
ผ่านทาง TAPR สุดท้าย กระผมเอง( คุณ Stan Horzepa,WA1LOU ตอนนี้ล่วง 
กาลผ่านวัยสู่ความเป็นคุณตาผู้เฒ่าแล้ว 2543) ได้พยายามติดต่อทางโทรศัพท์ 
ในตอนบ่าย ก็ได้รับการตอบรับโดยคุณ Packet Pete Eaton,WB9FLW แจ้งว่า 
กระผมเองโชคดี ได้รับหมายเลขจอง MXYZPTLK จำไม่ได้ว่าได้หมายเลข 
อะไร จำได้แต่เพียงว่าผมเป็นหนึ่งในบรรดาผู้จองชุดคิตหนึ่งใน 280 ชุดนั้น 
ดีใจมากครับ 
           
มันเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นดีครับ นักแพ็คเก็ตเรดิโอในพื้นที่ต่าง ๆ ก็หลงไหล 
ใน TNC ใหม่นี้  เวลานั้น  เราใช้อุปกรณ์หลาย  ๆ อย่าง (เช่น Vancouver boards, 
TAPR TNC 1s,GLB PK 1s
เป็นต้น)  บางอันก็ยังไม่มีฝาปิด  ซึ่งเราต้องนำมาปรับ 
ปรุงกันในภายหลังให้ดีขึ้นกว่าเดิม  และก็แน่ละครับ TAPR TNC 2 นี้ย่อมดีกว่า 
เป็นที่ยอมรับทั่วไป 
           
ได้มีการโทรศัพท์เข้ามามากที่ TAPR ในวันนั้นมากมาย  ทำให้สายโทรศัพท์ 
ไม่ว่างจนกระทั่งปิดศูนย์โทรศัพท์ของ Tucson ลงหลายครั้งหลายหน หลังจากที่มี 
คำสั่งจองเข้ามาถึง 832 คนแล้ว  ก็ได้มีการปิดการสั่งจองทางโทรศัพท์ลง  หลังจากนั้นก็ได้มี 
บริษัทต่าง ๆ เป็นต้นว่า AEA,Kantronics,MFJ.PacComm และบริษัทอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ได้รับใบอนุญาตทำ TnC 2 จาก TAPR ได้เริ่มผลิต TNC ออกมาสู่ตลาดมากมายเป็นรถ 
โกดังทีเดียว 
            TNC 2
นับว่าเป็นการปฏิวัติที่มีผลต่อแพ็คเก็ตเรดิโอ  ก่อนหน้าที่ TNC 2 นั้น ได้มี 
TNC
เพียงอย่างเดียว  แต่ต่อมาก็ได้มี TNC จำนวน 2000 ที่ใช้งานอยู่ทั่วโลก ทศวรรษต่อมา 
ได้มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นหลายร้อยเท่า(เป็นข้อความที่คุณ Stan Horzepa,WA1LOU บันทึกไว้ เมื่อปี 2538 ) 


ข้อสรุป แพ็คเก็ตเรดิโอ

ข้อสรุป 


ประวัติความเป็นมาของแพ็คเก็ตเรดิโอนี้ ได้รวบรวมมาเป็นเวลาประมาณ 
ทศวรรษ  แต่ในระหว่างช่วงเวลาสั้น ๆ นี้ นักวิทยุสมัครเล่นทั้งหลายก็ได้รวมเอา 
แนวติดแพ็คเก็ตเรดิโอที่เปลี่ยนแปลงไป และวิทยุสมัครเล่นได้ทำการที่สร้างและส่ง 
เสริมความก้าวหน้า หากจะมองไปอีก 10 ปีข้างหน้า(เขียนเมือปีพุทธศักราข 
2532)
การปฏิวัตทางด้ารการสือสารของเรา  อันเป็นงานอดิเรกที่สร้างความเจริญ 
สันติสุขในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างแน่นอน

พุทธศักราช 2532:เครือข่ายขยายตัวสู่ห้วงอวกาศ

พุทธศักราช 2532:เครือข่ายขยายตัวสู่ห้วงอวกาศ 

ในเดือนมากราคม ได้มีการเปิดแบนด์ 18 MHz. ให้แก่นักวิทยุสมัครเล่นสหรัฐ 
และแพ็คเก็ตเรดิโอก็เป็นหนึ่งดหมดที่สามารถใช้ได้ในแบนด์ใหม่นี้  สิ่งที่ได้เพิ่มเติม 
จากการนี้  มีการขยายตัวเติบโตขึ้นของโปรแกรมตระกูลที่เกี่ยวกับเครือข่าย ซึ่งก็ได้ 
มีการนำเอาระบบ ROSE(คือ RATS Open System Environment) โปรแกรม X.25 Packet Switch ซึ่งได้จัดทำขึ้นโดย The Radio Amateur Society(RATS) มีการใช้อุปกรณ์เข้าไปใน TNC 2 อัน ROSE Switch นี้เป็นของฟรีเพื่อทุกคนใช้ได้ 
           
ในเดือนเมษายน ARRL ได้ออกประกาศการสร้างโครงการใหม่  เพื่อพัฒนาโมเด็ม 
ใช้กับแพ็คเก็ตเรดิโอย่านความถี่ HF โครงการณ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประสานรงานความ 
พยายามของนักออกแบบทั้งหล่าย ซึ่งข้อเสนอของท่านเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจาก ARRL 
            The Dayton Ham Vention
ได้เสนอผลิตภัณท์แพ็คเก็ตเรดิโอใหม่ๆ เป็นจำนวนมาก ผลิต ผลเหล่านี้รวมถึง RF โมเด็มต่าง ๆ ความเร็ว 9600-baud จาก TAPR และ PacComm TAPR ได้เสนอเพื่อปรังปรุงชุดคิตทำเองของ TNC 1 และ TNC 2 
           
ระบบ NET/ROM ที่เรียกว่า TheNet นั้น ได้มีข้อโต้เถียงกันมาต้งแต่ปีพุทธศักราช 2532 ในเดือนพฤษภาคม TAPR ได้ขอให้ NORD><LINK ผู้สนับสนุน TheNet ให้ส่ง Network Node Controller ที่เป็นระบบโปรแกรมที่ใช้พัฒนาที่ PAPR ได้จัดหาให้แก่ NORD><LINK หลังจากที่ NORD><LINK ไม่ตอบคำถามต่าง ๆ ที่เป็นที่พอใจของ TAPR ซึ่งได้ทำการยกขึ้นมาถามอันเกี่ยวขจ้องกับ TheNet ประธาน TAPR คุณ Andy Freeborn,N0CCZ กล่าวว่า"คำถามหลัก  ๆ ที่ยกขึ้นมาก็คือว่า.... TheNet ไม่ได้พัฒนามาแต่ เดิม  แต่เป็นการ copy เลียนแบบโดยตรงจาก NET/ROM เพื่อตอบสนองต่อข้ออ้าง ของคณะกรรมการของ TAPR คำตอบที่อ้างมาเช่นนี้ทำให้คณะกรรมการไม่พอใจ 

พุทธศักราช 2531:ปีแห่งความเติบโตของระบบเครือข่าย

พุทธศักราช 2531:ปีแห่งความเติบโตของระบบเครือข่าย 

 มีเรื่องเล่ากันในระหว่างฤดูหนาวปีพุทธศักราช 2531 ได้แก่การสำรวจเดินทางด้ววสกีจาก 
สหภาพโซเวียตมาสู่แคนาดาได้เป็นผลสำเร็จ  ผ่านทางขั่วโลกเหนือ  โดยคณะนักวิทยาศาสตร์ 
ชาวแตนาดาและสังคมนิยมโซเวียต SKITREK ทำการติดต่อกับทางพวลเรือนต่าง ๆ ผ่านทางระบบ แพ็คเก็ตเรดิโอ 
           
ในระหว่างปีนั้นเอง โปรแกรมและ hardware เครือข่ายเวอร์ชั่นใหม่ ๆ ทีได้รับการปรับปรุง แล้วของ NET/ROM,KA9Q TCP/IP และ TexNet ก็ได้ทำออกมาและได้นำไปติดตั้งทั่วสหรัฐ และแตนาดา เมื่อถึงปลายปี   เครือข่ายก็ปรากฏรูปร่างขัดเจนยื่งขึ้น ครอบคลุมไปทั่วทุกหนทุกแห่ง เครือข่ายระบบโหนดก็ได้ขึ้นมาแนดิจิพีทเตอร์ทุกหนทุกแห่ง  ดูเหมือนว่า NET/ROM โหนดจะ ผุดขึ้นทุกมุมเมือง   ในการที่มีโปรแกรม  TCP/IP ของ KA9Q ขึ้นมาให้การสนับสนุนอีกแรงหนึ่ง ได้มีการเพิ่ม  KISS โหมดเข้าไปใน TNC  คำว่า KISS มาจากคำว่า Keep it simple stupid(คือทำ ให้ TNC โง่)  ซึ่งทำให้ TNC สามารถใช้กับโปรแกรมเครือข่าย KA9Q ได้ 
            NORD><LINK 
ปรากฏตัวขึ้นจากฟากฟ้าสีคราม ซึ่งนำเสนอโดยกลุ่มแพ็คเก็ตเรดิโอ แห่งเยอรมันตำวันตกแบบบเดียวกันกับ NET/ROM นั้งชื่อให้ว่า TheNet จากนั้น TheNet ก็ได้รับ ความนิยมทันที  เพราะเป็นของ free (เมือเทียบกับ NET/ROM ที่ไม่ free) พร้อมกันนั้นก็ให้คุณลักษณะ แบบใหม่ที่ไม่มีใน NET/ROM คลื่นลูกใหม่ของการติดตั้ง TheNet ได้ให้การับรองโดยผ(ู้พัฒนา NET/ROM คือคุณ Ron Raikes,WA8DED ว่าเป็นผลพวงแห่งคตวามสำเร็จที่ได้มาจาก NET/ROM นั่นเอง 
            WA8DED
ได้ให้ความเห็นว่า1 NORD><LINK เป็นเพียงการถอดอุปกรณ์ NET/ROM ออกมา แล้วทำการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย  แล้วรวบรวมใหม่ทำให้เป็นผลิตผลต้นแบบ  NORD><LINK ปฏิเสธ ข้อกล่าวหาของ WA8DED โดยอ้างว่า  พวกเชาเขียนระหัส TheNet จากสะเก็ตที่ได้มาจาก NET/ROM เป็นหลัก จัดพิมพ์เผยแพร่โดย Amtech Internatinal (อดีด softwarer 200) หลังจากที่ได้โต้เถียงกัน ความข้ดแย้งอันรุนแรงได้แพร่กระจายไปทั่วโลกแห่งแพ็คเก็ตเรดิโอด้วยข้อเขียนนี้ และบัดนี้ ข้อขัดแย้งนั้นก็ยังคงดำเนินตอไป 
           
ในเดือนมกราคม FCC ได้ขยายการอนุญาตให้ STA  ใช้งานแพ็คเก็ตเรดิโอในย่านความถี่ HF ต่อไปอีก 1 ปี  การขยายเวลาที่ได้อนุญาตอีกครั่งหนึ่งในเดือนมกราคม 2532 
            Dayton Ham Vention
ได้เสนอเครือง  hardware แพ็คเก็ตเรดิโอแบบใหม่ในเดือนเมษายน ทั้งรวมไปถึง AEA's 9600-baud,220  MHz.RF modem,DRSI's TNC เป็นการ์ดที่เรียกว่า 
plug-in card ใช้กับคอมพิวเตอร์ IBM PC  และ TNC ที่มีขนาดเท่ากันกับของ Heathkit ต่อมา ถึงฤดูใบไม้ผลิ คุณ James Miller,G3RUH ได้ประกาศเรืองการพัฒนาโมเด็มแพ็คเก็ตเรดิโอ ความเร็ว 9600 buad เพื่อใช้กับวิทยุสมัครเล่นแบนด์  BNFM 
            15
มีถุนายน ได้มีการส่งดาวเทียม OSCAR 13 จากศูนย์อวกาศ Guiana Space Center ใน Guiana ของฝรั่งเศศ แต่ดิจิพีทเตอร์ที่อยู่บนดาวเทียมชื่อว่า RUDAK ไม่ทำงาน  ทำให้นัก แพ็คเก็ตเรดิโอทั้งหลายทั่วโลกรู้สึกผิดหวังเป็นอย่างมาก  อย่างไรก็ตาม  สองสามเดือนต่อมา AMSAT และ UoSAT ได้มีแผนส่งดาวเทียมขนาดเล็กชื่อว่า MicroSats และ UoSats อีกสองดวง( UoSats D และ E) ในปีพุทธศักราช 2532 ดาวเทียม Microsats และ UoSats ทั้งสองสามารถใช้งานระบบแพ็คเก็ตเรดิโอในระบบ store-and-forward คือรับข้อความแล้วส่ง ต่อไปยังสถานีอื่น 
           
เมื่อลุถึงกลางปี ก็มีสิ่งต่าง ๆ ที่น่าสนใจเกิดขึ้นหลายสิ่งหลายอย่างในท่ามกลาง 
แวดวงของแพ็คเก็ตเรดิโอทั่วโลก ได้มีรายงานเกียวกับกิจกรรมแพ็คเก็ตเรดิโอจากไต้หวั่น 
ขั่วโลกใต้ ขั่วโลกเหนือ และสหภาพโซเวียต คุณ John Wiseman,G8BPQ ได้นำระบบ G8BPQ AX.25 packet switching system มาเสนอ  โปรแกรมเครือข่ายมัลติเปิบลิงค์นำมาใช้กับ คอมพิวเตอร์ IBM  และคอมพิวเตอร์แบบเดียวกัน  ได้มีการนำเอาการอภิปรายที่เรียกว่า RSGB Datasymposuim ทีจัดขึ้นทีมหาวิทยาลัย University of Surrey เป็นครั้งแรกใน ประเทศอังกฤษ และได้มีการประชุม AsiaNet PBBS Sysop ที่เมือง Brisne ในออสเตรเลีย กลุ่มแพ็คเก็ตเรดิโอในประเทศญี่ปุ่นมีชื่อว่า Japanese Packet Radio User's Group(PRUG) ได้พัฒนาโมเด็มความเร็ว 9600 bit/วินาที เพื่อใช้กับ TNC 2 และโมเด็มที่เหมือนกัน ดาวเทียมรูหนอนที่เรียกว่า wormhole ได้เชื่อมการติดต่อระหว่าง Ottawa,Ontario และ Calgary, Alberta  (การติดต่อผ่านดาวเทียม wormhole ของแคนาดายังได้เชื่อมต่อไปยังสหรัฐ คือในระหว่าง Maryland และ Minnesota ) 
           
ในเดือนสิงหาคม FCC ได้ทำลายการทอลองแพ็คเก็ตเรดิโอที่ใช้ในย่านความถี่ 
 220 MHz.
ลงด้วยการเรียกคืนความถี่ 220 -222 MHz. อันเป็นแบนด์สำรองของวิทยุ 
สมัครเล่น  เอาไปให้ Land Mobil Service ใช้งาน 
           
การประชุมเครือข่ายคอมพิวเตอร์วิทยุสมัครเล่นของ ARRL ครั้งที่ 7 ได้จัดขึ้น ณ 
มหาวิทยาลัย Johns Hopkins University ใน  Maryland เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม เช่นเคยครับ ที่ประชุมได้เน้นถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับแพ็คเก็ตเรดิโอว่าทำอย่างไร  จึงจะให้ยิ่งใหญ่และดีที่สุด 
อย่างไรก็ตาม ขณะนั้น  ได้มีการเสนอกากรแก้ไขปรับปรุงโปรโตคอล AX.25 ซึ่งได้ริเริ่ม 
และดำเนินการต่อมาด้วยการแต่งตั้งคณะกรรมการสือสารดิจิตอลวิทยุสมัครเล่นที่เรียกว่า 
ARRL Ad Hoc Committee (
ชื่อใหม่นี้เรียกสั้น ๆ ว่า ARRL Digital Committee) 
           
ในการรับใช้สาธารณะชนทั่วไป TexNet ได้ทำงานได้อย่างน่าชมเชยเป้นอย่างยิ่ง 
ในสภาวะเตรียมพร้อม ขณะที่พายุเฮอริเคน Gilbert ได้พัดผ่านรัฐ  Lone Star State ข้อความ ที่เกี่ยวกับการอนามัยและสวัสดิการต่าง ๆ ได้ส่งไปทั่วสหรัฐผ่านทางเครือข่ายแพ็คเก็ตเรดิโอ 
หลังจากที่มีแผ่นดินไหวสร้างความหายนะมากมายให้แก่รัฐ Armenia ของสหภาพโซเวียต 
เจ้าหน้าที่ของโซเวียตได้รับข้อเสนอให้ความช่วยเหลือจาก ARRL ดูเหมือนว่า เพียงชั่วคืน 
เดียวเท่านั้น  สถานีแพ็คเก็ตเรดิโอเคลื่อนที่  รวมถึงอุปกรณ์เครืองใช้ต่าง ๆ ที่ทางผู้ผลิต 
ต่าง ๆ ได้บริจาคให้  ได้ถุกลำเลียงไปสู่สหภาพโซเวียต  เพื่อจัดตั้งระบบสือสารระหว่างการ 
ช่วยเหลือและบรรเท่าสาธารณะภัย 
           
ปลายปีนั้นเอง คุณ Doug Bennett,K4NGC ได้ทำการสำรวจสถานี PBBS ต่าง ๆ ได้ถึง 1662 PBBS และสถานีดิจิพีทเตอร์ต่าง ๆ จำนวนถึง 1943 สถานีทั่วโลก